ตอนที่ 10

การขัดเงาแบบซารัตสึ กุญแจสู่ “ประกายแห่งคุณภาพ” ของ Grand Seiko

การขัดเงาแบบซารัตสึ เป็นงานฝีมือที่มีความยากลำบากทางเทคนิคและต้องใช้ความอุตสาหะสูงยิ่งในการรังสรรค์ แต่เป็นงานที่สำคัญต่อการได้มาซึ่ง “ประกายแวววาวที่มีคุณภาพ” อันเป็นศูนย์กลางแห่งสุนทรียศาสตร์ของ Grand Seiko

มีเพียงการขัดเงาแบบซารัตสึ เท่านั้น ที่สามารถทำให้พื้นผิวของตัวเรือนนาฬิกาเกิดความเรียบและปราศจากการบิดเบือนของภาพสะท้อน ในขณะที่ยังคงความคมชัดของเส้นสันเอาไว้ได้

Grand Seiko นำกระบวนการขัดเงาแบบซารัตสึ มาใช้เป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ 1960s และยังคงเป็นสาระสำคัญของการผลิตตัวเรือนมาจนถึงทุกวันนี้ โดยยังคงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะช่างบุรุษและสตรีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีทักษะและความเป็นเลิศในด้านงานฝีมือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการฝึกฝนอย่างเข้มข้นและความทุ่มเทของพวกเขา นาฬิกาคาลิเบอร์ 9S ทุกเรือนล้วนเป็นประจักษ์พยานได้ดีว่า Grand Seiko ได้สร้างความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในด้านเทคโนโลยี วัสดุ และกระบวนการผลิต ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา และในความเป็นจริงนั้น ศิลปะการขัดเงาแบบซารัตสึ ยังถูกปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นจากเทคนิคใหม่ ๆ ด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างก็คือ คุณภาพของงานฝีมือนั่นเอง ในการสร้างตัวเรือนนาฬิกาที่สมบูรณ์แบบซึ่งมี “ประกายแห่งคุณภาพ” อันเป็นเอกลักษณ์ของ Grand Seiko นั้น ประสบการณ์ ความทุ่มเท และทักษะของเหล่าช่างฝีมือ ผู้ได้รับความไว้วางใจให้กระทำการขัดเงาแบบซารัตสึ คือ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด